เกี่ยวกับบริษัท

ความเป็นมาของบริษัท

บริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท ฟินันซ่า จำกัด (มหาชน) (“FNS”) ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยในปีพ.ศ.2532 มีผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท 2 ท่าน คือนายวรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ และนายยูจีน เดวิส โดยทั้งสองท่านมีประสบการณ์การทำงานร่วมกันที่ธนาคาร เชสแมนฮัตตัน (ประเทศไทย) มีหน้าที่รับผิดชอบฝ่ายงานธุรกิจวาณิชธนกิจ(merchant banking) ของธนาคาร
ธุรกิจเริ่มแรกของ FNS เมื่อสมัยก่อตั้ง คือธุรกิจบริหารสินทรัพย์… เริ่มต้นจากการบริหารกองทุนขนาดเล็กที่มีเป้าหมายเพื่อการลงทุนโดยตรงในประเทศไทยและประเทศแถบอินโดจีน โดยพัฒนาการก้าวแรกเกิดขึ้นในปี 2534 ด้วยการเข้าซื้อกิจการในบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตสัมปทานเหมืองทองคำในประเทศเวียดนามซึ่งยังไม่เปิดดำเนินการ ทั้งนี้ การลงทุนครั้งนี้นับเป็นหนึ่งในการลงทุนแรกๆจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศเวียดนามหลังจากที่รัฐบาลเวียดนามนำนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจการค้าเสรีมาปรับใช้ (“Doi Moi”) โดยต่อมาภายหลัง เจ้าของสัมปทานเหมืองได้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการขายกิจการให้แก่ มิสเตอร์ โรเบิร์ต ฟรีดแลนด์ ผู้ซึ่งมาขับเคลื่อนธุรกิจเหมืองทองต่อไปภายใต้ชื่อบริษัท อินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ จำกัด ประสบการณ์ในประเทศเวียดนามครั้งนี้ นำไปสู่การระดมทุนจัดตั้งกองทุนอีกครั้งหนึ่งชื่อ กองทุน เวียดนาม ฟรอนเทียร์ ฟันด์ ซึ่งมีมูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ โดยมีเป้าหมายการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่ดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติ (Greenfield investments)ในประเทศเวียดนาม และตามด้วยการออกกองทุนใหม่เพื่อการลงทุนโดยตรงในภูมิภาคอินโดจีน มูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2539 ชื่อว่า กองทุน สยาม อินเวสเมนท์ ฟันด์ (“SIF”) แต่เนื่องจากเกิดเหตุวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียในปี 2540 ทำให้บรรยากาศการลงทุนเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ข้อกำหนดในการลงทุนของกองทุน SIF ต้องปรับเปลี่ยนไปเน้นการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คุณภาพสูง ที่มีภาวะปัญหาทางการเงิน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ มีมูลค่าหุ้นต่ำกว่าราคาที่แท้จริง โดยธุรกรรมลงทุนครั้งแรกของ SIF คือการเป็นผู้ลงทุนรายหลักในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ระดมทุนเพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท (ดูเพิ่มเติมจาก”การลงทุนที่ผ่านมา”) สืบเนื่องจากความสำเร็จของกองทุน SIF ที่สร้างผลตอบแทนได้ในอัตราสูงจากการสนับสนุน “เงินทุนเพื่อทางออกของธุรกิจ” “Solution Capital” ให้แก่บริษัทต่างๆ หลังจากนั้น FNS ยังเดินหน้าต่อไปด้วยการออกกองทุนใหม่ “สยาม อินเวสเม้นท์ ฟันด์ 2 แอล.พี.” มูลค่า 56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันกับกลุ่มนักลงทุน บริษัท แคปปิตอล ซี ซึ่งเป็นบริษัทจัดตั้งใหม่ในเครือของกลุ่มบริษัท ซูริค (Zurich Group) มีสำนักงานอยู่ที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตั้งแต่ปี 2542 กองทุนนี้ได้เริ่มลงทุนในบริษัทต่างๆในประเทศไทยเรื่อยมา ต่อมาในปี 2548 FNS ได้เปิดตัวกองทุน”เวียดนาม อิควิตี้ ฟันด์” ซึ่งมีกำหนดอายุกองทุน 10 ปี เพื่อลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ได้รับการแปรรูปจากองค์กรของรัฐก่อนที่บริษัทจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540 ได้เปิดโอกาสให้ FNS ก้าวเข้าสู่ธุรกิจใหม่ทางด้านให้บริการปรับโครงสร้างหนี้และองค์กร ส่งผลให้ FNS จัดตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ขึ้นอีก 1 หน่วยและประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ช่วงที่ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาคือ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด โดยในภายหลังได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2552 บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ได้นำหน่วยธุรกิจด้านซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเข้าร่วมกิจการกับบริษัทหลักทรัพย์ สินเอเชีย จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด (มหาชน) เกิดเป็นบริษัทใหม่ คือบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) โดยมี FNS เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แต่เพียงรายเดียว ซึ่งดำเนินธุรกิจจนได้เป็นบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงอยู่ใน 3 ลำดับต้นของตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยที่ FNS ยังคงประกอบธุรกิจวาณิชธนกิจต่อไปภายใต้บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า

หลังจากที่กลุ่ม FNS ได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2545 FNS ได้ขยายธุรกิจเข้าสู่การให้บริการทางการเงินด้วยการเข้าซื้อใบอนุญาตประกอบธุรกิจการเงิน (บริษัทเงินทุน ฟินันซ่า จำกัด) และซื้อกิจการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงเทพธนาธร จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจบริหารจัดการกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด การขยายธุรกิจของกลุ่มเข้าสู่ธุรกิจให้บริการทางการเงิน โดยเป็นบริษัทอิสระที่ไม่เป็นเครือธนาคารนั้น ต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องมุมมองและการรับรู้จากด้านกฎระเบียบ ตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ช่วงวิกฤตทางการเงินโลกยิ่งทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น ทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นทางด้านที่เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีและการกำกับดูแล หลังจากที่เกิดเหตุการณ์วิกฤตการเงินโลกในปี 2551-2552 ฝ่ายบริหาร FNS ได้ตัดสินใจยุติธุรกิจทางการเงินและธุรกิจจัดการกองทุนภายในประเทศทั้งหมด สำหรับธุรกิจบริหารกองทุนต่างประเทศก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกด้วยเช่นกัน และการระดมทุนจากนักลงทุนต่างประเทศต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายบริหารจึงได้ตัดสินใจในปี 2557 ที่จะดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนโดยตรงโดยใช้เงินทุนของบริษัทเอง ธุรกรรมลงทุนที่สำคัญชุดแรก คือการลงทุนในบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด(มหาชน) และบริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด
ฝ่ายบริหาร FNS เล็งเห็นโอกาสของการลงทุนในรูปแบบ “Private Equity”และศักยภาพที่จะสามารถสร้างรายได้ที่มีคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ จึงนำไปสู่การตัดสินใจในการจำหน่ายบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ออกไป เพราะรายได้จากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจนั้น ไม่มีความแน่นอน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ซึ่งเป็นปกติของธุรกิจประเภทนี้ และเห็นว่าเงินทุนที่ใช้ไปในธุรกิจเหล่านั้น หากนำไปใช้ลงทุนในกิจการอื่นน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า ทั้งนี้ FNS ได้จำหน่ายหุ้นทั้งหมดในบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)ในเดือนธันวาคม ปี 2564 และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ในเดือนพฤกษภาคม ปี 2565 หลังจากนั้น FNS จึงได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)


เริ่มต้นจากการบริหารกองทุนขนาดเล็กที่มีเป้าหมายเพื่อการลงทุนโดยตรงในประเทศไทยและประเทศแถบอินโดจีน โดยพัฒนาการก้าวแรกเกิดขึ้นในปี 2534 ด้วยการเข้าซื้อกิจการในบริษัทที่ได้รับใบอนุญาตสัมปทานเหมืองทองคำในประเทศเวียดนามซึ่งยังไม่เปิดดำเนินการ ทั้งนี้ การลงทุนครั้งนี้นับเป็นหนึ่งในการลงทุนแรกๆจากต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศเวียดนามหลังจากที่รัฐบาลเวียดนามนำนโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจการค้าเสรีมาปรับใช้ (“Doi Moi”) โดยต่อมาภายหลัง เจ้าของสัมปทานเหมืองได้ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในการขายกิจการให้แก่ มิสเตอร์ โรเบิร์ต ฟรีดแลนด์ ผู้ซึ่งมาขับเคลื่อนธุรกิจเหมืองทองต่อไปภายใต้ชื่อบริษัท อินโดไชน่า โกลด์ฟิลด์ จำกัด ประสบการณ์ในประเทศเวียดนามครั้งนี้ นำไปสู่การระดมทุนจัดตั้งกองทุนอีกครั้งหนึ่งชื่อ กองทุน เวียดนาม ฟรอนเทียร์ ฟันด์ ซึ่งมีมูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในกรุงดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ โดยมีเป้าหมายการลงทุนในธุรกิจใหม่ที่ดำเนินการโดยบริษัทข้ามชาติ (Greenfield investments)ในประเทศเวียดนาม และตามด้วยการออกกองทุนใหม่เพื่อการลงทุนโดยตรงในภูมิภาคอินโดจีน มูลค่า 25 ล้านเหรียญสหรัฐฯในปี 2539 ชื่อว่า กองทุน สยาม อินเวสเมนท์ ฟันด์ (“SIF”) แต่เนื่องจากเกิดเหตุวิกฤตเศรษฐกิจในเอเชียในปี 2540 ทำให้บรรยากาศการลงทุนเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ข้อกำหนดในการลงทุนของกองทุน SIF ต้องปรับเปลี่ยนไปเน้นการลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์คุณภาพสูง ที่มีภาวะปัญหาทางการเงิน และที่สำคัญอย่างยิ่งคือ มีมูลค่าหุ้นต่ำกว่าราคาที่แท้จริง โดยธุรกรรมลงทุนครั้งแรกของ SIF คือการเป็นผู้ลงทุนรายหลักในบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ระดมทุนเพื่อใช้ในการปรับโครงสร้างหนี้ของบริษัท (ดูเพิ่มเติมจาก”การลงทุนที่ผ่านมา”) สืบเนื่องจากความสำเร็จของกองทุน SIF ที่สร้างผลตอบแทนได้ในอัตราสูงจากการสนับสนุน “เงินทุนเพื่อทางออกของธุรกิจ” “Solution Capital” ให้แก่บริษัทต่างๆ หลังจากนั้น FNS ยังเดินหน้าต่อไปด้วยการออกกองทุนใหม่ “สยาม อินเวสเม้นท์ ฟันด์ 2 แอล.พี.” มูลค่า 56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลงทุนในบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันกับกลุ่มนักลงทุน บริษัท แคปปิตอล ซี ซึ่งเป็นบริษัทจัดตั้งใหม่ในเครือของกลุ่มบริษัท ซูริค (Zurich Group) มีสำนักงานอยู่ที่กรุงนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยตั้งแต่ปี 2542 กองทุนนี้ได้เริ่มลงทุนในบริษัทต่างๆในประเทศไทยเรื่อยมา ต่อมาในปี 2548 FNS ได้เปิดตัวกองทุน”เวียดนาม อิควิตี้ ฟันด์” ซึ่งมีกำหนดอายุกองทุน 10 ปี เพื่อลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ได้รับการแปรรูปจากองค์กรของรัฐก่อนที่บริษัทจะเข้าตลาดหลักทรัพย์ อย่างไรก็ดี ช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540 ได้เปิดโอกาสให้ FNS ก้าวเข้าสู่ธุรกิจใหม่ทางด้านให้บริการปรับโครงสร้างหนี้และองค์กร ส่งผลให้ FNS จัดตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ขึ้นอีก 1 หน่วยและประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ช่วงที่ได้รับอนุญาตจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งต่อมาคือ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด โดยในภายหลังได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์อย่างเต็มรูปแบบ ในปี 2552 บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ได้นำหน่วยธุรกิจด้านซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทเข้าร่วมกิจการกับบริษัทหลักทรัพย์ สินเอเชีย จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ ไซรัส จำกัด (มหาชน) เกิดเป็นบริษัทใหม่ คือบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) โดยมี FNS เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่แต่เพียงรายเดียว ซึ่งดำเนินธุรกิจจนได้เป็นบริษัทนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงอยู่ใน 3 ลำดับต้นของตลาดหลักทรัพย์ไทย โดยที่ FNS ยังคงประกอบธุรกิจวาณิชธนกิจต่อไปภายใต้บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า


หลังจากที่กลุ่ม FNS ได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2545 FNS ได้ขยายธุรกิจเข้าสู่การให้บริการทางการเงินด้วยการเข้าซื้อใบอนุญาตประกอบธุรกิจการเงิน (บริษัทเงินทุน ฟินันซ่า จำกัด) และซื้อกิจการบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงเทพธนาธร จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจบริหารจัดการกองทุนรวมและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ฟินันซ่า จำกัด การขยายธุรกิจของกลุ่มเข้าสู่ธุรกิจให้บริการทางการเงิน โดยเป็นบริษัทอิสระที่ไม่เป็นเครือธนาคารนั้น ต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องมุมมองและการรับรู้จากด้านกฎระเบียบ ตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนี้ ช่วงวิกฤตทางการเงินโลกยิ่งทำให้สถานการณ์รุนแรงขึ้น ทำให้เกิดต้นทุนเพิ่มสูงขึ้นทางด้านที่เกี่ยวกับระบบเทคโนโลยีและการกำกับดูแล หลังจากที่เกิดเหตุการณ์วิกฤตการเงินโลกในปี 2551-2552 ฝ่ายบริหาร FNS ได้ตัดสินใจยุติธุรกิจทางการเงินและธุรกิจจัดการกองทุนภายในประเทศทั้งหมด สำหรับธุรกิจบริหารกองทุนต่างประเทศก็ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการเงินโลกด้วยเช่นกัน และการระดมทุนจากนักลงทุนต่างประเทศต้องเผชิญกับอุปสรรคมากมาย ด้วยเหตุนี้ ฝ่ายบริหารจึงได้ตัดสินใจในปี 2557 ที่จะดำเนินธุรกิจด้านการลงทุนโดยตรงโดยใช้เงินทุนของบริษัทเอง ธุรกรรมลงทุนที่สำคัญชุดแรก คือการลงทุนในบริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด(มหาชน) และบริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด
ฝ่ายบริหาร FNS เล็งเห็นโอกาสของการลงทุนในรูปแบบ “Private Equity”และศักยภาพที่จะสามารถสร้างรายได้ที่มีคุณภาพสูงอย่างสม่ำเสมอ จึงนำไปสู่การตัดสินใจในการจำหน่ายบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ออกไป เพราะรายได้จากธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และวาณิชธนกิจนั้น ไม่มีความแน่นอน ไม่สามารถคาดการณ์ได้ซึ่งเป็นปกติของธุรกิจประเภทนี้ และเห็นว่าเงินทุนที่ใช้ไปในธุรกิจเหล่านั้น หากนำไปใช้ลงทุนในกิจการอื่นน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า ทั้งนี้ FNS ได้จำหน่ายหุ้นทั้งหมดในบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน)ในเดือนธันวาคม ปี 2564 และบริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด ในเดือนพฤกษภาคม ปี 2565 หลังจากนั้น FNS จึงได้เปลี่ยนชื่อบริษัทใหม่เป็น บริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

 

> อ่านรายละเอียด

โครงสร้างของกลุ่มบริษัท

FNS Holding Plc. logo desktop FNS Holding Plc. logo mobile

49.5%

50%

22%

12.7%

30%

บริษัท มั่นคงเคหะการ จำกัด (มหาชน)

  • โครงการที่อยู่อาศัยในชื่อชวนชื่น
  • รักษ (เวลเนส)
  • บริษัท พรอสเพค ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด

บริษัท บีเอฟทีแซด วังน้อย จำกัด

  • พัฒนาอาคารศูนย์กระจายสินค้าที่มีพื้นที่ 88,000 ตร.ม. ให้กับบริษัท สยาม แมคโคร จำกัด (มหาชน)

ทรัสต์เพื่อการลงทุนอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ พรอสเพคโลจิสติกส์และอินดัสเทรียล

  • จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์
  • เน้นลงทุนในพื้นที่อาคารคลังสินค้า และโลจิสติกส์

บริษัท นีโอ คอร์ปอเรท จำกัด

  • บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคลชั้นนำแห่งหนึ่งของไทย ภายใต้แบรนด์ไฟน์ไลน์ บีไนซ์ และดีนี่

บริษัท ขนม คาเฟ่ จำกัด

  • ผู้ประกอบการธุรกิจคาเฟ่ เบเกอรี่ และร้านอาหาร มีชื่อในสินค้า ทาร์ตไข่ที่อบใหม่ ปัจจุบันมี 20 สาขาทั่วกรุงเทพฯ

ธุรกิจอื่นๆ

บริษัท ฮักส์ อินชัวรันส์ (7.5%)

บริษัท เอฟบี ฟู้ด เซอร์วิส (6%)

คณะกรรมการบริษัท ฯ

คณะกรรมการบริหาร

คณะกรรมการตรวจสอบ

คณะผู้บริหารของ
กลุ่มบริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)

ผู้ถือหุ้นรายใหญ่

ลำดับ รายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เปอร์เซ็นต์ที่ถือหุ้น
1 นาย วรสิทธิ์ โภคาชัยพัฒน์ 49.45
2 ม.ล. สุทธิมาน โภคาชัยพัฒน์ 8.39
3 นาย วชิระ ทยานาราพร 3.30
4 นาย วิเชียร ศรีมุนินทร์นิมิต 2.74
5 บริษัทวิริยะประกันภัย จำกัด (มหาชน) 2.00
6 น.ส. ญาสินี อภิธโนทัย 1.70
7 นายวุธการ จิรอลงกรณ์ 1.32
8 นางประกายคำ ใบแก้ว 1.26
9 นายสุชาติ หวังสว่างกุล 0.74
10 นายระเฆียร ศรีมงคล 0.70
11 นายเกียรติ ศรีจอมขวัญ 0.68
12 บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด 0.67
13 OCBC Securities Private Limited 0.62
14 นางจันทนา รุ่งธนเกียรติ 0.62
15 นายชัยยุทธ พิทักษ์ธีรธรรม 0.60
16 นางสุนทรี นำประเสริฐชัย 0.57
17 Credit Suisse AG, Singapore Branch 0.57
18 ผู้ถือหุ้นอื่น 24.09
รวม 100.00

การกำกับดูแลกิจการ

บริษัทได้ปฎิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดมาโดยตลอด โดยคณะกรรมการบริษัทได้มีการติดตามการปฎิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีดังกล่าวเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้คณะกรรมการจะได้จัดให้มีการทบทวนนโยบายและปฎิบัติตามนโยบายดังกล่าวเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

หลักการกำกับดูแลกิจการ

การควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง

หลักปฎิบัตินี้มีจุดมุ่งหมายในการให้แนวทางสำหรับการปฎิบัติและการดูแลพนักงานของบริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ (กลุ่มบริษัท) ประเด็นที่กล่าวถึงและนโยบายที่ได้วางไว้ในที่นี้มีลักษณะเป็นเพื่อการปฎิบัติตามกฎระเบียบและการดูแล หลักปฎิบัตินี้ไม่ได้เป็นบทสรุปหรือสิ่งทดแทนกฎหมายหรือกฎระเบียบที่ควบคุมกิจกรรมของกลุ่มบริษัท

ข้อบังคับ

จรรยาบรรณทางธุรกิจ

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น

เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการปลุกจิตสำนึกในการต่อต้านการทุจริต บริษัท เอฟเอ็นเอส โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)จึงได้จัดทำนโยบายการต่อต้านการคอร์รัปชั่นขึ้นภายในองค์กรทั้งนี้เพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะบริหารงานด้วยความโปร่งใสและสร้างสังคมที่ดีในประเทศไทย

นโยบายต่อต้านการคอร์รัปชั่น

แจ้งเบาะแสการคอร์รัปชั่น

แนวการปฎิบัติงาน

แนวปฏิบัติงานการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

บริษัทตระหนักและให้ความสำคัญถึงสิทธิในความเป็นส่วนตัว และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล จึงได้จัดทำนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทจะดำเนินการในการเก็บรวบรวม การจัดเก็บ การใช้ การเปิดเผย การส่ง และการโอนข้อมูลส่วนบุคคลอย่างถูกต้องและเหมาะสม รวมทัั้ง คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล